การเปรียบเทียบรูปแบบ แนวทาง: การเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินและกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร
การเปรียบเทียบรูปแบบ แนวทาง การเปิดเผยข้อมูล และการจัดทำรายงานความยั่งยืนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้งบการเงินต่อการเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานความยั่งยืน ทั้งรูปแบบการรายงานเชิงเนื้อหา ขอบเขต และตัวชี้วัด และการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบ แนวทางการรายงานของกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินและกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร พบว่า หลักการรายงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการรายงาน ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์กับการเปิดเผยข้อมูลองค์กร ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 100 Index มีค่าเฉลี่ยในการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบรายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน และในเว็ปไซต์มากกว่าบริษัทนอกกลุ่ม SET Index อีกทั้งจำนวนบริษัทที่มีการเปิดเผยข้อมูล บริษัทในกลุ่ม SET 100 Index มีสัดส่วนร้อยละสูงกว่าทั้งสองกลุ่มอุตสาหกรรม
ระดับความเชื่อมั่นของการควบคุมภายในองค์กรในประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นของการควบคุมภายในองค์กรในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) องค์ประกอบของการควบคุมภายใน พบว่า สภาพแวดล้อมของการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามประเมิน ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นของการควบคุมภายใน ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการทดสอบความสัมพันธ์ไคสแควร์ (Chi-Square) ลักษณะประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับระดับความเชื่อมั่นของการควบคุมภายใน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการทดสอบความแตกต่าง (Independent t-test) ระดับความเชื่อมั่นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีระดับความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งปัญหาของการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นขององค์กรมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมของการควบคุม ในเรื่องการติดตามผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และความรู้ความสามารถของบุคลากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ การติดตามประเมิน เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายในจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก และกิจกรรมการควบคุมที่มีแผนงานเป็นลายลักษณ์อักษร
A comparison of forms and methods: Data disclosures and sustainable development report management of listed companies in financial and resource industry groups
The objective of this comparison in forms, methods, data disclosures, and sustainable development report management is to study the opinions of financial report users on data disclosures and sustainable development report management in many aspects: contextual report forms, scopes, and indicators. The study of forms and reporting methods of financial and resource industry groups shows that the reporting principles are related to the report quality at the 95% statistically significant confidence level. The industry group is related to the company’s data disclosure at the 0.05 significant level. Furthermore, listed companies in the SET 100 Index reveal a higher mean value of data disclosure in their annual report, sustainable development report, and websites than those non-listed. Also, regarding the number of companies that disclose their data, the companies in the SET 100 Index show a higher percentage than those in both industry groups.
A confidence level of internal control in companies in Thailand
This research aims to study the confidence level of internal control in companies in Thailand. According to Multiple Regression Analysis of internal control components, the control environment, information & communication, and tracking & assessment all influence the confidence level of the internal control at the 95% statistically significant confidence level. Also, according to the Chi-Square test, the demography characteristics are related to internal control at the 0.05 significant level. Moreover, the Independent t-test shows that the confidence level of listed companies is not significantly different from non-listed companies. The problems that have the most influence on the company’s confidence level are the environment of the assignment tracking control and the knowledge of staff required for the operation. The next secondary problems are the assessment tracking regarding a quality appraisal of the internal control unit by an external specialist and all control operations with a written plan.